ในปี พ.ศ. 2478 (ค.ศ.1935) มีการประชุมผู้แทนสมาคม YWCA นานาชาติในยุโรป อเมริกาและ เอเซียตะวันออก (Regional Conference) ณ เมืองโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา เวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีสมาคม YWCA นายวอลเตอร์ ซิมเมอร์แมน(Mr. Walter Zimmerman) เลขาธิการสมาคม YMCAกรุงเทพฯ ได้ทุนจากสมาคม YMCA แห่งสหรัฐอเมริกาจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนให้ นางสาวตาด ประทีปะเสน ครูโรงเรียนสอนภาษาไทยมิชชันนารีอเมริกันในกรุงเทพฯ ไปเป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุมRegional Conference ที่ศรีลังกาเป็นเวลาประมาณสองสัปดาห์
หลังจากกลับจากการประชุม แล้ว นางสาวตาด ประทีปะเสน จึงได้เชิญคนไทยและคนอเมริกันประมาณ 15 คน อาทิ คุณครูปรีดา วิชัย คุณครูทวี วิชัยดิษฐ์ คุณครูอนงค์ หิตะศักดิ์ คุณพุดซ้อน โมชดารา คุณครูเกื้อ ศาลิคุปต์ และมิชชันนารีสตรีอเมริกัน เพื่อเตรียมการ ก่อตั้งสมาคม YWCA กรุงเทพฯ ต่อมาในปีพ.ศ. 2484 (ค.ศ.1941) ได้เกิดสงครามเอเชียบูรพาขึ้น การเตรียม การก่อตั้งฯ จึงชะงักลง เมื่อสงครามยุติแล้วคณะเตรียม การฯ จึงได้ติดต่อกับ นางสาวเกอร์ทรุท โอเวน (Miss Gertrude Owen) เลขาธิการสมาคม YWCA แห่ง มาเลเซีย เพื่อขอคำแนะนำการทำกิจกรรมเบื้องต้น ท่าน ได้แนะนำให้ตั้งหอพักขึ้นเป็นอันดับแรก
หอพักแห่งแรก
หอพักแห่งแรก
การซื้อที่ดินและอาคาร Holy Ruth
หอพักแห่งแรก
คณะเตรียมการฯ ได้เช่าบ้านคุณหญิงนวม เวหาสยานุศิลปสิทธิ์ ในราคาที่ถูกมาก ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้าน เลขที่ 275 ถนนสีลม ศาลาแดง โดยคณะกรรมการฯ และมิตรสหายได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 8,000 บาท เพื่อทำหอพักนักศึกษา มีนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าพัก 10 คน การก่อตั้งสมาคม YWCA กรุงเทพฯ ข่าวการ เปิดหอพักนี้ได้แพร่ไปถึง สมาคม YWCA แห่งโลก ซึ่งตั้ง อยู่ ณ ประเทศสวิทเซอร์แลนด์ สมาคม YWCA แห่งโลก จึงได้อนุญาตให้ นางสาวเกอร์ทรุท โอเวน (Miss Gertrude Owen) มาช่วยแนะนำจัดทำระเบียบข้อบังคับและวางโครงการของสมาคม YWCA กรุงเทพฯ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สมาคม YWCA กรุงเทพฯ จึงได้ก่อตั้งขึ้นณ วันที่ 20 มิถุนายนพ.ศ.2490 (ค.ศ.1947) หลังจากนั้นสมาคม YWCA แห่งนิวยอร์คได้ส่งนางสาวเฟิร์นเลดเจอร์วูด (Miss Fern Ladgerwood) มาเป็นเลขาธิการที่ปรึกษา ท่านเรียนภาษาไทยได้เร็วมาก และสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไทยได้ เป็นอย่างดีปีพ.ศ.2491 (ค.ศ.1948) นางสาวเกื้อ ศาลิคุปต์กรรมการสมาคมฯ ได้รับทุนไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ก และเป็นผู้แทนสมาคม YWCA กรุงเทพฯ ไปประชุมสมาคม YWCA นานาชาติที่นั่น
การซื้อที่ดินและอาคาร Holy Ruth
สมาคมฯ ได้ซื้อที่ดินจำนวน 5 ไร่ 92ตารางวา พร้อมอาคาร Holy Ruth 1 หลัง และศาลา 1หลัง ณ บ้านเลขที่ 13 ถนนสาทรใต้ จากนางเบอร์ธาบราวท์ อาจวิทยาคม (Mrs.Bertha Blount McFarland) ด้วยเงินบริจาค 3,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา จาก สมาคม YWCA แห่งสหรัฐอเมริกา โดยนางพอล (Mrs.Paul Eakins) เป็นรณรงค์เงินบริจาค และได้ใช้บ้านหลังนี้เป็นสำนักงาน เป็นที่พักของเลขาธิการที่ปรึกษาเป็นหอพักนักศึกษา และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมของสมาคมฯ (ซึ่งย้ายจากถนนสีลมมาอยู่ที่ถนนสาทรใต้) กิจกรรมในระยะเริ่มต้นของสมาคมฯ เน้นเรื่องการเย็บปักถักร้อย และการทำอาหาร สอนโดย นางสัมฤทธิ์ สุวรรณบล และ นางแพประวัติ วิชชุกุมารี ส่วนการสอนนันทนาการ การเต้นสแควร์แดนส์ สอนโดย นางฟอร์คเนอร์ (Mrs.Forkner) เลขาธิการสมาคม YMCA กรุงเทพฯ ส่วนภาษาอังกฤษโดยอาสาสมัครชาวต่างประเทศ นางบุญชวน หงสไกร เลขาธิการสมาคมฯ เสนอให้สร้างหอพักสำหรับสมาชิกสมาคม YWCA นานาชาติ ที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยคิดในอัตราถูกและเน้นความปลอดภัยสำหรับสตรีเหล่านี้ หอพักนานาชาติจึงถูกสร้างขึ้นตั้งอยู่หลังอาคาร Holy Ruth
ซึ่งเป็นสมาคมฯที่ก่อตั้งขึ้น และดำเนินงานโดย สตรีคริสเตียน
ได้เริ่มต้นจากการช่วยเหลือของสมาคม YMCA (วาย.เอ็ม.ซี.เอ.) กรุงเทพฯ โดยในปี พ.ศ. 2478 สนับสนุนให้ นางสาวตาด ประทีปะเสน (ประ-ที-ปะ-เสน) ไปร่วมสังเกตการณ์การประชุมผู้แทนสมาคม YWCA นานาชาติในยุโรป หลังจากกลับจากประชุมแล้ว นางสาวตาดได้เชิญคริสเตียนไทย คนอเมริกัน และมิชชันนารีสตรีอเมริกัน ประมาณ 15 คนเพื่อเตรียมก่อตั้งสมาคม YWCA กรุงเทพฯ จนกระทั่งสามารถก่อตั้งสมาคมฯ ได้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2490 หรือปีคริสตศักราช 1947 โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนสีลม
ต่อมา สมาคม YWCA สหรัฐอเมริกาได้รวบรวมทุนเพื่อซื้อที่ดินจำนวน 5 ไร่ 92 ตารางวา พร้อมอาคาร Holy Ruth 1 หลัง พร้อมศาลา 1 หลัง ณ บ้านเลขที่ 13 ถนนสาทรใต้ จาก นางเบอร์ธาบราวท์ อาจวิทยาคม ภรรยาของพระอาจวิทยาคม เพื่อให้สมาคมฯ ใช้เป็นอาคารสำนักงาน หอพักนักศึกษา และสถานที่ทำกิจกรรม สมาคมฯ จึงย้ายมาที่ถนนสาทรใต้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
กิจกรรมของสมาคมฯ เจริญก้าวหน้าอย่างมาก และได้ดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ
- หอพักสตรีนานาชาติ
- สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันที่ถนนสาทร
- สถานรับเลี้ยงเด็กดินแดง โดยร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์
- โรงเรียนจำรูญพิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับอนุบาล-ประถมศึกษา
- โรงเรียนเลขานุการเยาวนารีสตรีสมาคม YWCA กรุงเทพฯ
- โรงเรียนกวดวิชา
- สระว่ายน้ำ
- สถานออกกำลังกาย
- กิจกรรมช่วยเหลือสังคมจำนวนมาก เป็นต้น
ต่อมา ในปี 2537 คณะกรรมการอำนวยการสมาคมฯ ในสมัยนั้นได้มองการณ์ไกลและเล็งเห็นว่า จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ ให้รองรับกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จึงได้พิจารณาอย่างรอบคอบและตัดสินใจพัฒนาพื้นที่ของสมาคมฯ เพื่อให้สมาคมฯ ได้รับประโยชน์สูงสุด
ในปัจจุบัน
สมาคม ไว ดับยู ซี เอ กรุงเทพฯ มีสำนักงานอยู่ที่อาคารแมคฟาร์แลนด์ เลขที่ 13 ถนนสาทรใต้และมีศูนย์ภายใต้ 2 แห่ง
- ปี พ.ศ. 2520 ศูนย์พัทยา เริ่มต้นจากโครงการช่วยฝึกวิชาชีพให้แก่สตรีด้อยโอกาสที่เมืองพัทยา และต่อมาได้ซื้อทาวน์เฮ้าส์จำนวน 1 หลังเพื่อใช้เป็นสำนักงาน
- ปี พ.ศ. 2535 ศูนย์ชลบุรี สมาคมฯ ได้รับมอบที่ดิน 8 ไร่ภายในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จาก นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทอมตะนคร คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และต่อมา สมาคมฯ พัฒนาที่ดินผืนดังกล่าวเป็นอาคารโรงเรียน สนามแบดมินตัน และอาคารหอพัก กัลยานานุกูล
นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังดำเนินพันธกิจต่างๆ จำนวน 8 ด้าน ดังนี้
1.สังคมสงเคราะห์
2.ศาสนา
3.การศึกษา
4.เด็กและเยาวชน
5.พัฒนาเยาวสตรี
6.สมาชิกสัมพันธ์
7.จัดหาทุน
8.บริหารทรัพย์สิน
สมาคมฯ ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่ยังคงช่วยเหลือสังคมจนถึงปัจจุบัน
- งานออกร้านนานาชาติ หรือ งานบาซาร์ YWCA และคณะภริยาทูต เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยสมาคมฯ ร่วมกับคณะภริยาทูตเพื่อจัดหารายได้ และนำไปช่วยเหลือสังคม ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทั้งในและต่างประเทศ
-การจัดงานบาซาร์ในปัจจุบัน ปีนี้เป็นครั้งที่ 67 สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนด้านสถานที่จากกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาหรือ CPN และความร่วมมือจาก สถานทูตในประเทศไทยหลายสิบแห่ง สามารถจัดหารายได้เพื่อดำเนินโครงการด้านการกุศลไม่น้อยกว่า 40 โครงการต่อปี
- โครงการแม่อุปถัมภ์ โดยให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินเป็นทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างต่อ เนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 จวบจนปัจจุบัน นับเป็นเวลา 44 ปี
- ปัจจุบัน สมาคมฯ ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เป็นจำนวนกว่า 500 ทุนการศึกษาต่อปี
- และมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและระดับปริญญาตรีทุกๆ ปี
- สมาคมฯ จัดตั้ง สถานรับเลี้ยงเด็ก สมาคม ไว ดับยู ซี เอ กรุงเทพฯ เมื่อปี 2542 โดยรับดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในเวลากลางวัน เพื่อแบ่งเบา ภาระของผู้ปกครอง
- ปัจจุบัน สถานรับเลี้ยงเด็กฯ เปิดรับดูแลเด็กตั้งแต่อายุ 2 6 ขวบ จัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรมอนเตสซอรี่บนพื้นฐานพระคัมภีร์ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย และ ดูแลเอาใจใส่เด็กทุกคนด้วยความรัก
- งานพัฒนาเยาวสตรี ได้ริเริ่ม Y-Teen Bkk Club และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำแก่เยาวสตรี
- โดยในปีที่ผ่านมา จัดกิจกรรมออนไลน์ Women Powers Project 2021 ปลุกพลังที่ซ่อนอยู่ในตัวคุณ จำนวน 4 ครั้ง และดำเนินกิจกรรมร่วม กับองค์กรสตรีอื่นๆ เช่น สมาคมสตรีภาคพื้นแปซิฟิคและเอเซียอาคเนย์ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
- เดิมสมาคมฯ จัดตั้งหอพักสตรีนานาชาติขึ้นเพื่อให้เป็นที่พักในอัตราถูกและปลอดภัยสำหรับสตรี ต่อมาได้เปิดให้บริการที่พักสำหรับบุคคลทั่วไป
- ปัจจุบัน สมาคมฯ ส่งเสริมให้จัดตั้ง โรงแรม วายดับเบิลยูซีเอ แบงค๊อก เพื่อให้บริการที่พักทั้งรายวันและรายเดือนแก่บุคคลทั่วไป มีห้องพักหลาย รูปแบบจำนวน 40 ห้อง และมีห้องประชุมรองรับการจัดประชุม/สัมมนาได้ถึง 200 คน
- พันธกิจที่สมาคมฯ ดำเนินการนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อศรัทธาและความรักในองค์พระเยซูคริสต์
- สมาคมฯ นำเงินรายได้ไปช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรการกุศลอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กและสตรี
- ตลอดจนไปเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ อธิษฐานเผื่อ และแบ่งปันพระคำของพระเจ้า เพื่อสำแดงความรักของพระเยซูคริสต์ที่มีต่อชุมชน สังคมไทยและโลกนี้
- สมาคม ไว ดับยู ซี เอ กรุงเทพฯ มุ่งมั่นและตั้งใจที่จะช่วยเหลือสังคมเหมือนดังตลอด 75 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การทรงนำและพระคุณของพระเจ้า ตลอดไป